ปัสสาวะเล็ดในผู้หญิง เกิดจากอะไร? สาเหตุที่ทำให้ กลั้นปัสสาวะไม่ได้

admin
7 Jun 2023

ปัสสาวะเล็ดในผู้หญิง หรือ “ฉี่เล็ด” เป็นโรคที่พบมากในกลุ่มผู้หญิงวัยทำงานจนถึงวัยทอง ซึ่งเป็นช่วงอายุ 40-50 ปีขึ้นไป กลุ่มที่มีความเสี่ยงมักเป็นผู้หญิงที่ผ่านการมีบุตร มีน้ำหนักตัวมาก ท้องผูกหรือไอเรื้อรัง และหญิงวัยหมดประจำเดือน ส่งผลให้กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานเสื่อมสภาพ จนมีปัญหาในการกลั้นปัสสาวะ ภาวะนี้สามารถเกิดขึ้นได้ขณะทำกิจกรรมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นออกกำลังกาย ไอ จาม หัวเราะ ยกของหนัก หรือบางรายอาจมีอาการปวดปัสสาวะแล้วต้องรีบเข้าห้องน้ำทันที กลั้นไม่อยู่ ปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน เป็นต้น 

โดยโรคปัสสาวะเล็ด สามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ความมั่นใจ และการใช้ชีวิตประจำวันได้ หากใครกำลังสงสัยว่าตนเองเป็นโรคปัสสาวะเล็ด หรือไม่? วันนี้คลินิกหมอพีช (Peach Clinic) รวบรวมความรู้ดี ๆ เกี่ยวกับสาเหตุและอาการของโรคปัสสาวะเล็ด ให้ทุกคนได้รับทราบกัน

ปัสสาวะเล็ด ผู้หญิง

ปัสสาวะเล็ด ผู้หญิง เกิดจากอะไร?

ปัสสาวะเล็ด (Urinary Incontinence) มักพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย ปัสสาวะเล็ด เกิดจากอะไร? สำหรับสาเหตุของการเกิดโรคปัสสาวะเล็ด หรือ “ฉี่เล็ด” สามารถเกิดขึ้นได้จากหลากหลายสาเหตุด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น

1. ปัสสาวะเล็ด เกิดจากอวัยวะภายในอุ้งเชิงกรานหย่อน

ปัสสาวะเล็ด ผู้หญิง

หนึ่งในสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดภาวะกลั้นปัสสาวะ ไม่อยู่ คืออวัยวะภายในอุ้งเชิงกรานหย่อน ไม่ว่าจะเป็น มดลูก ผนังช่องคลอด กระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะ ซึ่งเกิดขึ้นกับผู้หญิงที่มีอายุมาก หรืออยู่ในวัยใกล้หมดประจำเดือน เนื่องจากเมื่ออายุมากขึ้น กล้ามเนื้อที่ช่วยพยุงอุ้งเชิงกรานจะเริ่มเสื่อมสภาพ ทำให้มดลูกและผนังช่องคลอดหย่อนลง จนเบียดกระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะ โดยเมื่อเกิดแรงดันกับร่างกาย เช่น การออกกำลังกาย ยกของหนัก ไอหรือจาม จึงส่งผลให้กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ จนกลายเป็นโรคปัสสาวะเล็ดได้

2. ผู้หญิงที่ผ่านการคลอดแบบธรรมชาติ มีโอกาสเป็นโรคปัสสาวะเล็ดมากขึ้น

ปัสสาวะเล็ด ผู้หญิง

คุณแม่ที่ผ่านการมีบุตรหลายครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การคลอดบุตรด้วยวิธีธรรมชาติจะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ มากกว่าผู้หญิงในวัยเดียวกัน เนื่องจากการคลอดบุตรผ่านทางช่องคลอด อาจจะเกิดการบาดเจ็บต่อกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน ส่งผลให้มดลูก ช่องคลอดและอวัยวะข้างเคียงท่อปัสสาวะหย่อน จนส่งผลต่อการควบคุมและการกลั้นปัสสาวะ ในอนาคตได้

3. น้ำหนักตัวมาก ก็เสี่ยงต่อการเป็นปัสสาวะเล็ด 

ปัสสาวะเล็ด ผู้หญิง

รู้หรือไม่? การที่เรามีน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์ หรือมีภาวะโรคอ้วน ก็เสี่ยงต่อการเป็นโรคปัสสาวะเล็ดได้ เนื่องจากการที่น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น จะเพิ่มแรงกดต่ออุ้งเชิงกราน ทำให้เส้นประสาทและกล้ามเนื้อบริเวณนั้นเสื่อมสภาพส่งผลให้เกิดภาวะกลั้นปัสสาวะ ไม่อยู่ ทำให้สูญเสียความมั่นใจและกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวัน 

4. อาหาร และยาบางประเภทกระตุ้นให้เกิดปัสสาวะเล็ดได้

การรับประทานที่ช่วยกระตุ้นการขับปัสสาวะ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน การสูบบุหรี่ หรือยาบางประเภท เช่นยานอนหลับ ยาขับปัสสาวะ ยากล่อมประสาท ถือเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการขับปัสสาวะมากกว่าปกติ จนเกิดภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ในที่สุด  

5. ประวัติผ่าตัดและโรคประจำตัวอื่นๆ 

ผู้ที่เคยผ่าตัดบริเวณอุ้งเชิงกราน เช่น ตัดมดลูก หรือผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่นโรคเบาหวาน โรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ โรคทางระบบประสาท โรคถุงลมโป่งพองหรือหอบหืดเรื้อรัง มีโอกาสเกิดภาวะปัสสาวะเล็ดมากกว่าคนทั่วไป

อาการของโรคปัสสาวะเล็ด 

ปัสสาวะเล็ด ผู้หญิง

เมื่อเรารู้กับสาเหตุของการเกิดโรคปัสสาวะเล็ด แล้ว เราก็มาดูอาการของโรคนี้กันบ้าง สำหรับอาการหลักของโรคปัสสาวะเล็ด มีดังนี้ 

  • ไอ จาม ออกกำลังกาย ยกของหนัก แล้วมีปัสสาวะเล็ด
  • รู้สึกปวดปัสสาวะแล้วต้องรีบไปเข้าห้องน้ำทันที กลั้นไม่ได้ บางคนอาจมีปัสสาวะเล็ดออกมาขณะรีบไปเข้าห้องน้ำ
  • ปัสสาวะบ่อยขึ้น หรือปัสสาวะบ่อยเวลากลางคืน หรืออาจมีปัสสาวะเล็ดเวลานอน
  • ปวดเวลาปัสสาวะ

สำหรับบางคนที่โรคปัสสาวะเล็ด อาจมีมากกว่า 1 อาการขึ้นไป หรือมีอาการหลายข้อรวมกันได

วิธีแก้ปัสสาวะเล็ด เมื่อมีอาการ กลั้นปัสสาวะไม่อยู่

ปัสสาวะเล็ด ผู้หญิง

แนวทางในการรักษาโรคปัสสาวะเล็ด  อันดับแรก จำเป็นต้องหาสาเหตุและจำแนกประเภทของการปัสสาวะเล็ดก่อน สำหรับผู้ที่อาการไม่รุนแรง สามารถปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน ลดน้ำหนัก รักษาโรคประจำตัวที่มีผลทำให้เกิดอาการ หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่กระตุ้นการขับปัสสาวะ จัดตารางการปัสสาวะไม่กลั้นปัสสาวะเป็นเวลานาน ฝึกขมิบหรือบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานเป็นประจำทุกวัน 

สำหรับผู้ที่มีอาการรุนแรง ไม่สามารถกลั้นปัสสาวะได้ แม้จะลองวิธีข้างต้นแล้วควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อหาแนวทางในการรักษาให้ตรงกับสาเหตุ โดยการรักษามีตั้งแต่การใช้อุปกรณ์ช่วยพยุงอวัยวะอุ้งเชิงกราน การใช้ยากิน การฉีดยาเข้าในกระเพาะปัสสาวะ และการผ่าตัดรีแพร์ (Repair) ร่วมกับใส่เทปพยุงอุ้งเชิงกราน นอกจากนี้ ในปัจจุบัน ยังมีการนำเลเซอร์มาใช้เพื่อกระชับช่องคลอดโดยไม่ต้องผ่าตัด Vaginal rejuvenation (เลเซอร์รีแพร์) ซึ่งได้ผลที่มีประสิทธิภาพ ใช้เวลาไม่นานไม่เสียเลือดเหมือนการผ่าตัด และไม่ต้องพักฟื้น

เลเซอร์รีแพร์เหมาะกับใครบ้าง?

ปัสสาวะเล็ด ผู้หญิง
  1. มีอาการปัสสาวะเล็ดแบบไม่รุนแรง
  2. ช่องคลอดหลวม ไม่กระชับ
  3. สตรีวัยทองที่มีอาการช่องคลอดแห้ง
  4. ช่องคลอดอักเสบ ตกขาวเรื้อรังจากการขาดสมดุลของแบคทีเรียในช่องคลอด

หากคุณสนใจอยากปรึกษาเพิ่มเติม เรื่อง “เลเซอร์รีแพร์” เข้ามาปรึกษากับคลินิกหมอพีช (Peach Clinic) สาขาเชียงใหม่ เรามีการทำ Vaginal rejuvenation นวัตกรรมใหม่ที่ช่วยยกกระชับช่องคลอดด้วยเครื่องเลเซอร์รีแพร์ Asclepion Juliet โดยใช้เทคโนโลยีใหม่ Er:YAG laser ช่วยยกกระชับจุดซ่อนเร้น แก้ไขปัญหาปัสสาวะเล็ดและปัญหาช่องคลอดแห้ง พร้อมสร้างสารหล่อลื่นและคอลลาเจนให้ผิว คืนความสาวให้จุดซ่อนเร้น เห็นผลตั้งแต่ 1-3 ครั้งแรก โดยไม่ต้องผ่าตัด ไม่เจ็บ ไม่ต้องฉีดยาชา ใช้เวลาในการรักษาเพียง 15 นาที คุณก็สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติได้ โดยที่ไม่ต้องพักฟื้นเลย นอกจากนี้ คลินิกหมอพีชมีทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสูตินรีเวช พร้อมให้คำแนะนำและประเมินก่อนให้การรักษาทุกเคส คุณจึงมั่นใจได้ว่า จะได้รับการรักษาที่เหมาะกับตัวคุณที่สุด

แพ็กเกจยกกระชับช่องคลอด Vaginal rejuvenation 

  • ราคาโปรโมชั่น 29,900 บาท / 3 ครั้ง (ลดจากราคาปกติ 50,000 บาท / 3 ครั้ง)
  • รักษารายครั้ง ราคา 19,900 บาท / ครั้ง

ติดต่อสอบถามข้อมูลกับ Peach Clinic

อ่านบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติม ได้ที่ :

รีแพร์ช่องคลอด คืออะไร? เช็ก 5 อาการที่เลเซอร์รีแพร์ช่วยคุณได้ 

กระชับช่องคลอด แก้ปัสสาวะเล็ด ฟื้นฟูน้องสาว ด้วย “เลเซอร์รีแพร์”

 

อ้างอิงข้อมูลจาก :  

  • Berek & Novak’s Gynecology. Philadelphia :Wolters Kluwer Health/Lippincott Williams & Wilkins, 2022.
  • Leshunov EV, Martov AG. [APPLICATION OF LASER TECHNOLOGIES FOR TREATMENT OF URINARY STRESS INCONTINENCE IN WOMEN OF REPRODUCTIVE AGE]. Urologiia. 2015 Jan-Feb;(1):36-40.
  • Mothes AR, Runnebaum M, Runnebaum IB. An innovative dual-phase protocol for pulsed ablative vaginal Erbium:YAG laser treatment of urogynecological symptoms. Eur J Obstet Gynecol Reprod Biol. 2018 Oct;229:167-171.
  • https://www.acog.org/womens-health/faqs/urinary-incontinence