ฉี่เล็ด เกิดจากอะไร? ฉี่เล็ดบ่อย ปัสสาวะราด อันตรายไหม? หาสาเหตุและวิธีแก้ไขได้ที่นี่
ฉี่เล็ดเป็นปัญหาสุขภาพที่พบได้บ่อยในผู้หญิง โดยอาการฉี่เล็ดอาจเกิดขึ้นได้หลายรูปแบบ เช่น ฉี่เล็ดเวลาไอ จาม หัวเราะ ออกกำลังกาย ซึ่งอาจสร้างความกังวลและรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันได้ แล้ว ฉี่เล็ด เกิดจากอะไร? อันตรายไหม? ในบทความนี้ คลินิกหมอพีช Peach Clinic จะพาคุณไปรู้จักกับอาการฉี่เล็ด สาเหตุ และวิธีแก้ไขอย่างละเอียด เพื่อให้คุณสามารถเข้าใจอาการ และหาวิธีรักษาโรคปัสสาวะเล็ดได้อย่างถูกต้อง
ฉี่เล็ด คืออะไร? ฉี่เล็ด เกิดจากอะไร?
ปัสสาวะเล็ด หรือ ฉี่เล็ด (Stress Urinary Incontinence) หมายถึง อาการที่ปัสสาวะไหลออกมาโดยไม่ตั้งใจ อาจเป็นเพียงหยดเดียวหรือเป็นปริมาณมาก อาการฉี่เล็ดอาจเกิดขึ้นได้หลายรูปแบบ เช่น ฉี่เล็ดเวลาไอ จาม หัวเราะ หรือออกกำลังกาย ฉี่เล็ดเวลาเดินหรือวิ่ง ฉี่เล็ดเวลายืนขึ้นหรือลุกจากที่นั่ง ฉี่เล็ดตลอดเวลา เป็นต้น โดยสาเหตุส่วนใหญ่ มาจากปัจจัยเหล่านี้
6 สาเหตุที่พบได้บ่อยสำหรับโรคปัสสาวะเล็ด
- อวัยวะและกล้ามเนื้อในอุ้งเชิงกรานหย่อน : สาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดของโรคฉี่เล็ด มักเกิดจากการที่อวัยวะในอุ้งเชิงกรานหย่อน ซึ่งประกอบด้วยมดลูก ผนังช่องคลอด กระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะ ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นกับผู้หญิงที่อายุมาก หรือวัยใกล้หมดประจำเดือน
- การตั้งครรภ์และการคลอดบุตร : จำนวนครั้งในการคลอดบุตร น้ำหนักแรกคลอดของบุตรที่มาก การใช้เครื่องมือช่วยในการคลอดบุตรเช่น ใช้เครื่องดูดสุญญากาศ ใช้คีมช่วยคลอด รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนและน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นระหว่างตั้งครรภ์อาจทำให้กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานอ่อนแรงลง ส่งผลให้เกิดอาการฉี่เล็ดได้
- ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมาก หรือ โรคอ้วน : น้ำหนักที่มากเกินไปอาจกดทับกระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะไหลออกมาได้ง่ายขึ้น
- การผ่าตัดในบริเวณอุ้งเชิงกราน : การผ่าตัดในบริเวณอุ้งเชิงกราน เช่น การผ่าตัดมดลูก อาจทำให้กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานอ่อนแรงลง
- อาหาร และยาบางชนิด : ไม่ว่าจะเป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน การสูบบุหรี่ หรือยาบางประเภท เช่นยานอนหลับ ยาขับปัสสาวะ ยากล่อมประสาท กระตุ้นให้เกิดการขับปัสสาวะมากกว่าปกติ จนเกิดภาวะฉี่เล็ดในที่สุด
- โรคประจำตัวบางชนิด : เช่น โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดสมอง โรคพาร์กินสัน โรคเส้นประสาทไขสันหลัง โรคเอสแอลอี อาจทำให้เส้นประสาทสมองที่ควบคุมกระเพาะปัสสาวะเสียหาย ส่งผลให้เกิดอาการฉี่เล็ดได้
คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการฉี่เล็ด :
- ปรึกษาแพทย์ : อาการฉี่เล็ดมีหลายประเภท สาเหตุของอาการฉี่เล็ดอาจแตกต่างกันไป ดังนั้นจึงควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุและแนวทางการรักษาที่เหมาะสม
- ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม : มีพฤติกรรมบางอย่างที่อาจทำให้อาการฉี่เล็ดแย่ลง เช่น การดื่มน้ำมากเกินไป การยกของหนัก การกลั้นปัสสาวะบ่อยๆ การไอหรือจามแรงๆ สูบบุหรี่ ท้องผูกเรื้อรัง เป็นต้น สำหรับใครที่เป็นโรคฉี่เล็ด จึงควรหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเหล่านี้
- ฝึกฝนกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน : กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานเป็นกล้ามเนื้อที่ช่วยควบคุมการกลั้นปัสสาวะ ดังนั้นการฝึกฝนกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานจึงช่วยบรรเทาอาการฉี่เล็ดได้ วิธีการฝึกฝนกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานมีหลายวิธี เช่น การเกร็งกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานค้างไว้ 5 วินาที แล้วคลายออก ทำซ้ำ 10-15 ครั้ง ทุกวัน
- ใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์ : ในปัจจุบันมีอุปกรณ์ทางการแพทย์หลายชนิดที่สามารถใช้ช่วยบรรเทาอาการฉี่เล็ดได้ เช่น อุปกรณ์พยุงท่อปัสสาวะ เป็นต้น
วิธีแก้ไขฉี่เล็ด รักษาอาการนี้ได้อย่างไร?
การรักษาอาการฉี่เล็ด มักขึ้นอยู่กับสาเหตุของอาการ โดยประเภทการรักษาโรคปัสสาวะเล็ด แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้ วิธีแก้ไขฉี่เล็ดด้วยตัวเอง และวิธีแก้ไขฉี่เล็ดด้วยการรักษาทางการแพทย์ มีรายละเอียดของการรักษาแต่ละแบบ ดังนี้
- วิธีแก้ไขฉี่เล็ด ด้วยตัวเอง
- กรณีอาการฉี่เล็ดเกิดจากกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานอ่อนแรง สามารถแก้ไขได้ด้วยการฝึกกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน (Kegel Exercise) ซึ่งสามารถทำได้เองที่บ้าน
- ควบคุมอาหารและน้ำหนักตัวให้อยู่ในระดับมาตรฐาน
- หลีกเลี่ยงชา กาแฟ น้ำอัดลม หรือการดื่มน้ำมากเกินไปก่อนนอน
- งดสูบบุหรี่
- ระวังไม่ให้มีภาวะท้องผูกหรือไอเรื้อรัง
- วิธีแก้ไขฉี่เล็ด ด้วยการรักษาทางการแพทย์
- ใช้ฮอร์โมนทดแทน : เพื่อรักษาระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนให้อยู่ในระดับปกติ
- ใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์ : ในปัจจุบันมีอุปกรณ์ทางการแพทย์หลายชนิดที่สามารถใช้ช่วยบรรเทาอาการฉี่เล็ดได้ เช่น อุปกรณ์พยุงช่องคลอด
- การรักษาด้วยการผ่าตัด : เป็นวิธีรักษาที่ใช้ในผู้ที่มีอาการฉี่เล็ดปานกลางถึงรุนแรง การผ่าตัดมีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับสาเหตุและความรุนแรงของอาการ เช่น
- ใส่อุปกรณ์แขวนท่อปัสสาวะ : การผ่าตัดใส่อุปกรณ์แขวนท่อปัสสาวะ (Sling Procedure) ช่วยพยุงท่อปัสสาวะไม่ให้หย่อน
- กระชับช่องคลอด : การผ่าตัดกระชับช่องคลอด (Vaginal Surgery) ช่วยเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน
- การรักษาด้วยเลเซอร์รีแพร์ : เป็นเทคโนโลยีอันทันสมัย ที่มีการใช้เครื่องเลเซอร์เข้าไปช่วยเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อบริเวณช่องคลอด เพื่อแก้ไขปัญหาช่องคลอดหย่อน และอาการปัสสาวะเล็ด สามารถอ่านข้อดีของการทำเลเซอร์รีแพร์ได้ในบทความนี้ : รีแพร์ช่องคลอด คืออะไร? เช็ก 5 อาการที่เลเซอร์รีแพร์ช่วยคุณได้
แก้ปัญหาปัสสาวะเล็ด ด้วยเลเซอร์รีแพร์
รักษาโรคปัสสาวะเล็ดได้ง่าย ๆ แบบไม่เจ็บตัว ด้วยเลเซอร์รีแพร์จากคลินิกหมอพีช (Peach Clinic) ไม่เจ็บ ไม่ต้องพักฟื้น รู้สึกได้ตั้งแต่การรักษาในครั้งแรก เหมาะสำหรับผู้ที่อยากแก้ปัญหาช่องคลอดแห้ง กระชับช่องคลอด ช่วยให้คุณมั่นใจและมีสุขภาพเพศที่ดียิ่งขึ้น
นอกจากนี้ คลินิกหมอพีชยังทำการรักษาด้วย Erbium Yag laser โดยใช้เครื่อง MCL31 และใช้หัวเลเซอร์ Juliet แบบพิเศษ ลดการเสียดสีเวลารักษา ทำให้รู้สึกสบายกว่า อีกทั้งยังมีการใช้แบบ single-use เปลี่ยนใหม่ทุกครั้ง สะอาด ดูแลโดยแพทย์เฉพาะทางสูตินรีเวชทุกเคส
พิเศษ! โปรโมชันเลเซอร์กระชับน้องสาว ลดเหลือเพียง 29,900 บาท (ราคาเต็ม 50,000 บาท) แถมฟรี! ตรวจ HPV *เมื่อซื้อคอร์ส 3 ครั้ง สามารถผ่อนชำระ 0% สูงสุด 6 เดือน สนใจปรึกษาและขอคำแนะนำกับคุณหมอพีช
ปรึกษา Peach Clinic คลินิกสูตินรีเวช เชียงใหม่
ติดต่อสอบถามข้อมูลกับ Peach Clinic
- ช่องทาง Facebook : https://www.facebook.com/PeachClinicTH
- ช่องทาง LINE OA : @peach.clinic
อ่านบทความที่น่าสนใจ เพิ่มเติมได้ที่ :
ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ราคาเท่าไหร่? แนะนำคลินิกสูติ ใกล้ฉัน 2566